เซียงไฮ้ : นครนานาชาติ เมืองท่าหลักของจีน

เซียงไฮ้ : นครนานาชาติ เมืองท่าหลักของจีน

เซียงไฮ้ : นครนานาชาติ เมืองท่าหลักของจีน

เรื่องราวของเซี่องไฮ้ โดย ดับเบิลยู. โรเบิร์ต มัวร์ ตีพิมพ์ในฉบับกันยายน ค.ศ. 1932

นครแห่งนี้เป็นทั้งเมืองท่าที่รุ่งเรืองที่สุดของตะวันออกไกล ศูนย์รวมผู้คนต่างชาติต่างภาษานับได้หนึ่งในแปดของประเทศต่างๆในโลก ขอบฟ้าซึ่งแต่ก่อนนี้มีเพียงบึงซึ่งรกเรื้อด้วยพงอ้อ ปัจจุบนกลายเป็นตึกระฟ้า โคมกระดาษถูกแทนที่ด้วยไฟนีออนโฆษณาสว่างจ้าไปทั้งเมือง เมื่อก่อนมีแค่ผักกาดขาวก็ดีถมเถ ปัจจุบันอาหารการกินของที่นี่อุดมด้วยของเลิศรสอย่างไข่คาเวียร์

นับแต่วันที่เซียงไฮ้กลายเป็นเมืองท่าจามสนธิสัญญาเมื่อปี 1843 ทุกวันนี้นครแห่งนี้มีประชากรซึ่งไม่ใช่ชาวจีน 60,000 คน และสถานกงสุล 17 แห่ง เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทต่างๆ และยังเป็นศูนย์กลางของคณะหมอสอนศาสนานิกายต่างๆอีกด้วย

 

จากหมู่บ้านเล็กๆกลายเป็นเมืองท่าหลักใน 90 ปี

เซี่ยงไฮ้
ขนกะหล่ำขึ้นจากเรือริมคลองซูโจว ย่านฮงกิวในเซี่ยงไฮ้นี้เมื่อก่อนรู้จักในนาม “เขตอเมริกัน” อาคารสูงๆเบื้องหลังคือที่ทำการไปรษณีย์จีนซึ่งรับหน้าที่ดูแลพัสดุไปรษณีย์ทั้งหมดของเซียงไฮ้ แทนที่ทำการไปรษณีย์ของหลายเขตมหาอำนาจซึ่งปิดทำการไปแล้ว

สถานที่ตั้งคือปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้นครเซี่ยงไฮ้ผงาดในฐานะเมืองท่าหลักของจีน เซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ช่วงกลางของชายฝั่งทะเลของจีน การสัญจรตามแม่น้ำแย่งซีต้องล่องผ่านเมืองนี้ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีอุดมสมบูรณ์นัก ใช้เป็นที่เพาะปลูกเลี้ยงปากท้องชาวจีนกว่า 200 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของคนจีนทั้งประเทศ แม่น้ำนี้และลำน้ำสาขายังเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ นำผลิตผลต่างๆมาป้อนและปรนเปรอนครเซี่ยงไฮ้ และโรงงานอุตสาหกรรมจ่างๆก็ล้วนตั้งอยู่รมสายน้ำยิ่งใหญ่แห่งเอเชียสายนี้ด้วย

แม้แม่น้ำแยงซีจะมีความสำคัญต่อเซี่ยงไฮ้ แต่นครแห่งนี้ก็ไม่ได้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอันยิ่งใหญ่สายนั้นเสียทีเดียว แต่ตั้งอยู่ริมฝั่งหวังปู่สายน้ำสาขา ห่างจากแม่น้ำแยงซีราว 13 ไมล์

เซี่ยงไฮ้
ท้ายสำเภานิงโปประดับอย่างวิจิตร ภาพหงส์ที่ท้ายสำเภาลำนี้เป็นเคล็ดช่วยให้ความมั่นใจแก่กะลาสีชาวจีนที่ต้องออกไปผจญคลื่นลมกลางทะเลได้บ้าง

แม้จะอยู่บนแผ่นดินจีน แต่คงกล่าวไม่ได้เต็มปากนักว่าเซี่ยงไฮ้เป็นนครจีน เนื่องบจากอำนาจเงินตราของต่างชาติมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเซี่ยงไฮ้ ซึ่งขณะนี้กำลังขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว เมื่อท่านโดยสารเรือกลไฟเข้ามาตามลำน้ำหวังปู้ ก็จะพบว่าทิวทัศน์ที่เห็นช่างแตกต่างจากเมืองจีนเหลือเกิน หากไม่พบเรือประมงของคนพื้นเมือง ซึ่งกำลังออกไปหาปลาแล้ว ท่านก็จะเห็นแต่คลังน้ำมัน โกดัง ปล่องไฟของโรงงานอุตสาหกรรม และอู่เรือซึ่งเป็นสิ่งที่เราชาวตะวันตกคุ้นตาเป็นอย่างยิ่ง

ตึกระฟ้าผงาดเหนือตลาดนัด

เซี่ยงไฮ้
กะลาสีคนนี้สูงเด่นเป็นสง่าเมื่อยืนอยู่ตรงหน้าแตรวง ชาวจีนซึ่งกำลังเดินแถวไปตามถนนบับบลิงเวล แตรวงเยี่ยงนี้โดยมากมักนิยมใช้บรรเลงตามงานศพและเล่นได้กระทั่งเพลงแจ๊ส

ตึกระฟ้าซึ่งเป็นศรีสง่าของเซี่ยงไฮ้เป็นสิ่งก่อสร้างอย่างตะวันตก ตึกแถวแบบจีนนั้นไม่สูงเลย สามชั้นก็ถือว่าสูงมากแล้ว สาเหตุสำคัญของการสร้างตึกระฟ้าในเซี่ยงไฮ้ก็เนื่องจากพื้นที่ในเขตพาณิชย์ของนครนี้แออัด ไม่อาจขยายตัวได้อีกแล้ว จึงจำเป็นต้องงอกเงยไปตามแนวตั้ง การสร้างตึกซึ่งสูงราวแปดชั้นเหล่านี้เป็นปัญหาซึ่งครั้งหนึ่งท้าทายสถาปนิก เพราะพื้นที่ที่สร้างตึกนั้นเป็นดินอ่อนในที่ลุ่ม ไม่มั่นคงไม่เหมาะแก่การวางรากฐานของตึกสูงเลย แต่ทุกวันนี้สถาปนิกคนเก่งก็สามารถแก้ปัญหาฐานรากจนสามารถเพิ่มความสูงของตึกได้จนถึง 15 ชั้นแล้ว ส่วนอาคารของคนจีนนั้นก็เริ่มเพิ่มความสูงของตนเหมือนกับกลัวตัวเองจะน้อยหน้าฝรั่ง

แต่ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวดูจะหยุดอยู่แค่นอกเขตพื้นที่ตำบลหนานเต้า (Nantao) ซึ่งฝรั่งนิยมเรียกย่านนี้ว่า เมืองคนจีน ซึ่งเป็นเขตที่เราจะเห็นเรือประมงลำเล็กๆและสำเภาจีนเทียบท่าอยู่ทั่วไป แต่หลังจากจีนเปลี่ยนมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ ถนนปูพื้นหินก็ยังต้องหลีกทางให้ถนนคอนกรีต กำแพงซึ่งเคยก่อรอบตำบลก็ถูกรื้อจนราบ ขอทานที่เคยเห็นอยู่กลาดเกลื่อนก็หายหน้าบางตาลงไปมาก

เซี่ยงไฮ้
“ลื้อจะกันหน้าด้วยไหม” ช่างโกนผมเหล่านี้ใช้แต่น้ำนิดเดียว สบู่โกนหนวดก็ไม่มี หากลูกค้ายังเวียนมารับบริการไม่เคยขาด

เมื่อกล่าวถึงเซี่ยงไฮ้ เราย่อมนึกถึงเขตนานาชาติซึ่งมีส่วนผลักดันนครนี้ให้เป็นเมืองท่าก้าวหน้าและทันสมัย เซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งในเมืองท่าค้าขายที่ประทศตะวันตกได้จากจีนตามสนธิสัญญาหนานจิง ฝ่ายอังกฤษเป็นพวกแรกที่ย้ายมาตั้งรกราก ถมคลองคูให้เป็นที่ดอนสามารถอยู่อาศัยได้ ตามด้วยชาวฝรั่งเศส อเมริกัน ซึ่งต่างก็จับจองพื้นที่ต่างๆใบบริเวณเซี่ยงไฮ้ เมื่อฝ่ายนานาชาติย้ายกันมาอยู่มากขึ้น ความแออัดก็ตามมา ทำให้เกิดความจำเป็นในการสร้างตึกสูงดังที่ปรากฏ

คนต่างชาติต่างภาษามาอยู่รวมกันภายใต้การปกครองของกรรมการเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งประกอบด้วยชาวอังกฤษ อเมริกัน ญี่ปุ่น และชาติอื่นๆ มีหน้าที่ดูแลถนนหนทาง ความปลอดภัย และการวางผังเมือง ส่วนเขตของฝรั่งเศสนั้น ก็อยู่ภายใต้ระบบการปกครองที่คล้ายคลึงกัน

เซี่ยงไฮ้
แสงไฟฟ้าและแสงไฟนีออนกำลังเบียดเบียนธุรกิจโคมกระดาษที่เห็นอยู่ในภาพนี้

ในประวัติศาสตร์ นครแห่งนี้เคยจำต้องระดมกองกำลังรักษาเซี่ยงไฮ้ถึง 2,000 คน เพื่อปกป้องนครในพ้นจากเงื้อมมือของพวกกบฏไท่ผิงเมื่อปี 1854 และการต่อต้านการก่อความไม่สงบอันเนื่องจากนัดหยุดงาน ละความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆของบรรดาชาวจีนที่นี่

เมื่อเซี่ยงไฮ้เติบโตขึ้น นิงโป (Ningpo) ซึ่งเคยเป็นเมืองท่าใหญ่ก็ต้องหลีกทางให้เซี่ยงไฮ้ ลองยืนชมการจราจรอันขวักไขว่ริมถนนเดอะบุนด์สิ แล้วท่านจะเห็นความจอแจหลากหลายของนครนี้ รถราที่สัญจรอยู่ภายใต้การกำกับของตำรวจจราจรแขกซิกข์หนวดเคราครึ้ม รถประจำทาง รถราง ล้วนแต่แน่นเอี้ยดจนแทบไม่มีที่ยืน รถยนต์และรถบรรทุกส่วนใหญ่เป็นของอเมริกัน เหล่ากุลีเข็นรถ คนจีนบังคับเกวียนเทียมสัตว์ต่างบรรทุกข้าวของเป็นก่ายเป็นกอง รถลากสัปปะรังครับผู้โดยสารอย่างรถแท็กซี่ จักรยาน และคนเดินถนน ประกอบกันเป็นมหาสมุทรของการสัญจรบนถนนเดอะบุนด์

เซี่ยงไฮ้
ในเมืองท่าต่างๆ น้ำโซดาและน้ำมะเน็ด เริ่มมาแทนที่น้ำหวานหาบขายใส่แก้วอย่างที่เฮียคนนี้กำลังโบกพัดไล่แมลงพัลวัน

ความแออัดเช่นนี้คือโจทย์ที่กรมการเมืองในส่วนของการผังเมืองต้องคิดแก้ไขเพื่อนอนาคตที่สดใสกว่าของเซี่ยงไฮ้ ถนนอย่างบับบลิงเวลคือถนนที่ตัดเพิ่มจากถนนเดอะบุนด์ แต่ก่อนชาวตะวันตกนิยมใช้ถนนสายนี้เป็นที่ไว้ขับเล่น ถนนซึ่งงแต่ก่อนเรียกได้ว่าอยู่นอกเมือง บัดนี้เป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ สโมสร หอนันทนาการ ตึกหอพัก โบสถ์ ที่ทำการของสมาคม Y.M.C.A. และบ้านช่องซึ่งดูเหมือนจะผุดขึ้นมาทุกหนทุกแห่ง ยามกลางคืนก็เปล่งแสงไฟสว่างไสวราวถนนบอร์ดเวย์ในนครนิวยอร์ก

นครแห่งนี้ยังมีที่ว่างไว้สำหรับให้ชาวเมืองได้หย่อนใจ ซึ่งมักเริ่มต้นจากสโมสรของชาวอังกฤษ ผู้รักการกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ ขณะนี้ธุรกิจกำลังจ้องจะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างอันเป็นที่ตั้งของสโมสรและสนามแข่งม้า การแข่งม้าและการออกลอตเตอรี่เป็นกรพนันที่นิยมในหมู่ลูกเรือชาวอังกฤษและบุคคลทั่วไป วันแข่งม้านัดสำคัญยังเป็นวันหยุดของห้างร้าน สำนักงาน และธนาคารต่างๆด้วย

และนอกจากการพนันแล้ว เซี่ยงไฮ้ยังเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ถนนหนทางระงมด้วยเสียงหาบเร่ร้องขายของ…

 

อ่านเพิ่มเติม

เมืองไทยในอดีต: ล้านนาเมื่อวันวาน

Recommend