แคเทอรีน จอนสัน: หญิงสาวผู้อยู่เบื้องหลังการแข่งขันทางอวกาศ

แคเทอรีน จอนสัน: หญิงสาวผู้อยู่เบื้องหลังการแข่งขันทางอวกาศ

แคเทอรีน จอนสัน: หญิงสาวผู้อยู่เบื้องหลังการแข่งขันทางอวกาศ

เด็กหญิงผู้เติบโตขึ้นในชนบทของเวสเวอร์จิเนีย แคเทอรีน  จอนสัน [Katherine Johnson] รักการนับเลข เธอนับทุกอย่าง ไม่ว่าจะแต่ละก้าวที่เดินจากบ้านไปยังถนน หรือจำนวนจานที่เธอล้าง เธอเริ่มเรียนมัธยมปลาย ตอนอายุเพียง 10 ขวบ โดยเลือกเรียนทุกวิชาที่เกี่ยวกับปริมาณ และเรียนจบมหาวิทยาลัย สาขาคณิตศาสตร์ ตอนอายุ18 ปี

ความสามารถของเธอนั้นถูกบันทึกลงในภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่ชื่อว่า Hidden Figures ซึ่งได้ช่วยให้สหรัฐชนะการแข่งขันทางอวกาศ โดยการส่งมนุษย์ขึ้นไปยังดวงจันทร์ได้สำเร็จ

แต่ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 จอนสันถูกกักกั้นไว้ด้วยเชื้อชาติและเพศของเธอ ด้วยกฎหมายที่กีดกันชาวแอฟริกัน-อเมริกันในขณะนั้น ด้วยทางเลือกที่จำกัด จอนสันทำงานเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส และดนตรีในโรงเรียนเปิดเวอร์จิเนียร์ เธอกล่าวว่านั่นเป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สุดสำหรับความสามารถของเธอ

จากนั้น ในปี 1953 ศูนย์วิจัยแลงเลย์ในเวอร์จิเนีย มีกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่เรียกตัวเองว่า “มนุษย์คอมพิวเตอร์” เรียกตัว จอนสัน เข้าทำงาน อาชีพนักคอมพิวเตอร์เชิงกลศาสตร์ในห้องวิจัยเพิ่งเป็นที่รู้จัก เพื่อที่จะทำงานในการคำนวณอันซับซ้อน  ศูนย์วิจัยต้องการคนหัวไวและเชี่ยวชาญในตัวเลข  ตามห้องวิจัยการบินทั่วประเทศ

จอนสันเข้ารับตำแหน่งงานในฐานะนักคอมพิวเตอร์ที่แลงเลย์ และอยู่ภายใต้การกำกับของ โดโรธี โวกัน ผู้หญิงอเมริกันผิวสีคนแรกที่ควบคุมศูนย์ the center’s cadre of human calculators  ซึ่งในนั้นรวมทั้ง แมรี่ แจ๊คสัน ผู้ซึ่งเป็นวิศวกรหญิงแอฟริกัน-อเมริกันคนแรก ของนาซา

เพียงสองอาทิตย์หลังจากนั้น จอนสันถูกย้ายไปอยู่ในแผนกวิจัยการบิน ซึ่งเธอและเพื่อนร่วมงานได้รับมอบหมายงานที่จะช่วยนาซาในการแข่งขันกับสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ส่งสปุตนิกหนึ่งไปในปี 1957  และต่อมาในปี 1961 โซเวียตได้ส่งยูริ กาการิน มนุษย์คนแรกไปสู่อวกาศ

ในปี 1961 จอนสันได้คำนวนและร่างวิถีวงโคจรของแคปซูลอวกาศที่จะส่งออกไปนอกโลก ในปีต่อมา จอนสันคำนวนและร่างเส้นทางนักบินอวกาศ จอน เกลน หลังจากวนอยู่ในวงโคจรสามครั้ง ตัวเซฟตี้ของเกลนหลุดออก ตามรายงานเขาไม่ประสงค์ที่จะเดินทางกลับจนกระทั่ง จอนสันตรวจสอบผลการคำนวนของหุ่นยนตร์คำนวนตัวใหม่

ในปี 1969 จอนสันช่วยส่ง อะพอลโล 11 ไปยังดวงจันทร์ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดของเธอ จอนสันปลดเกษียณจากนาซาในปี 1986 และมากกว่าทศวรรษ ของการทำงาน เธอมีส่วนร่วมในทุกโครงการอวกาศ รวมทั้งโปรแกรมกระสวยอวกาศ ในปี 2015 ประธานาธิปดีโอบามา ได้มอบเหรียญเกียรติยศให้แก่จอนสัน วัย 97 ปี

แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ง่ายเช่นนั้น

ในขณะที่จอนสันเริ่มคำนวณวิถีโคจรของท้องฟ้า การเคลื่อนไหวในสิทธิพลเมืองยังคงมีแรงเหวี่ยง และกลุ่มของนักคอมพิวเตอร์หญิงซึ่งมี โวกัน เป็นผู้นำ ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยวภายในห้องซึ่งมีป้ายติดเอาไว้ว่า นักคอมพิวเตอร์ผิวสี  แต่ทว่าแลงเลย์ไม่ได้เพียงแค่ตระหนักได้ถึงความสามารถซึ่งขึ้นอยู่กับทักษะเฉพาะตัวของของผู้หญิงเหล่านี้ แต่ยังไว้วางใจพวกเขาด้วยชีวิตของนักบินอวกาศ

“แลงเลย์ไม่ใช่ที่ปกติ”  บิล  บารีย์ หัวหน้าฝ่ายประวัติศาสตร์ของนาซากล่าว ที่นี่เต็มไปด้วยนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร จากทั่วประเทศซึ่งสนใจในข้อมูลมากกว่าโครงสร้างทางสังคม แม้กระทั่งตอนนี้ จอนสัน โวกัน และ แจ๊คสัน ยังคงเป็นผู้หญิงต้นแบบที่ไต่ขึ้นจุดสูงสุดด้วยตัวของพวกเธอเองในการเป็นวิศวกรที่หาจับตัวได้ยากของนาซา

ผู้หญิงทุกวันนี้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็นชนกลุ่มน้อย ยังคงต่อสู้กับอคติในสนามของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศกรรมศาสตร์ และดิ้นรนที่จะพิสูจน์ว่าสติปัญญาของพวกเธอนั้นดีเท่ากับพวกผู้ชาย ซึ่งเป็นความจริงที่น่าท้อแท้ แต่ต้องมีใครสักคนที่จะเปลี่ยนมัน

เรื่อง นาเดีย  เดร็ก

 

อ่านเพิ่มเติม

ใครคือผู้หญิงที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์

Recommend