เช็คๆ อิโมจิสัตว์เหล่านี้ผิดไปจากความเป็นจริง

เช็คๆ อิโมจิสัตว์เหล่านี้ผิดไปจากความเป็นจริง

เช็คๆ อิโมจิสัตว์เหล่านี้ผิดไปจากความเป็นจริง

เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วย อิโมจิ และผู้คนก็นำอิโมจิเหล่านี้มาใช้กันอย่างแพร่หลาย นอกเหนือจากการส่งแชทแล้ว อิโมจิถูกนำไปใช้ในการเล่าเรื่องราว, ถูกนำไปทำเป็นภาพยนตร์ หรือแม้กระทั่งมีสารานุกรมอิโมจิด้วยซ้ำ ว่าแต่ว่าอิโมจิที่เป็นภาพแทนของสัตว์บนโลกนี้ออกแบบมาถูกต้องแค่ไหนตามหลักความเป็นจริง? เพราะเหล่านี้คือเรื่องสำคัญมากสำหรับนักชีววิทยา

Anne Hilborn นักวิจัยเสือชีตาห์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเวอร์จิเนีย รู้สึกไม่ค่อยสบายใจเท่าไหร่นักที่อิโมจิรูปม้าลายถูกออกแบบให้มีหูและรูจมูกสีชมพู

“เอาจริงเหรอ? แม้กระทั่งตอนที่ม้าลายป่วยตาย จนมีเลือดไหลออกมาจากรูจมูก พวกมันก็ยังไม่มีจมูกสีชมพูเลยนะ” Hilborn กล่าว

อิโมจิ
ม้าลายไม่ได้มีหูและรูจมูกสีชมพู

ในทำนองเดียวกันอิโมจิรูปสิงโตถูกออกแบบมาอย่างเลวร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอิโมจิรูปสิงโตโดยซัมซุงซึ่ง Hilborn ระบุว่าเป็นเวอร์ชั่นที่เลวร้ายอย่างมหันต์ เนื่องจากมันมี “ก้อนครีมโกนหนวดอยู่ใต้จมูก”

และแม้ว่าจะไม่มีอิโมจิเสือชีตาห์โดยเฉพาะ แต่มีอิโมจิของเสือดาวและกว่าครึ่งของอิโมจิเสือดาวจากหลายบริษัทแทนภาพเสือดาวผิดเนื่องจากในความเป็นจริงท้องของพวกมันก็เต็มไปด้วยลายจุดเช่นกัน แต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่หางต่างหาก “เสือดาวมีหางที่สวยงาม หางโค้งยาวของพวกมันช่วยในการทรงตัว แต่พวกเขากลับใส่หางแมวมาให้แทน”

สิงโตเองก็ไม่ได้มีแก้มสีขาว

อิโมจิแต่ละรูปส่วนใหญ่มีความแตกต่างในการออกแบบกันมากถึง 13 แบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับแพลทฟอร์มที่ใช้นั่นหมายความว่าอิโมจิค้างคาวจากโทรศัพท์เครื่องหนึ่งหรือจากแอพพลิเคชั่นหนึ่งจะดูแตกต่างจากอิโมจิค้างคาวอีกแหล่งอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง Alyson Brokaw นักวิจัยค้างคาวจากมหาวิทยาลัย Texas A&M ระบุว่าอิโมจิค้างคาวจากกูเกิลนั้นออกแบบให้จงใจเหมือนค้างคาวแวมไพร์ แต่ปัญหาก็คือเขี้ยวต่างหากที่อยู่ผิดที่ เพราะมันควรจะอยู่ที่ด้านหน้าของปากไม่ใช่ด้านข้าง

การออกแบบสัตว์เหล่านี้ครอบคลุมไปถึงสายพันธุ์สัตว์ปีก สำหรับเวอร์ชั่นของเฟซบุ๊กนั้นชัดเจนว่าเป็นเพนกวินอาเดลี รายงานจาก Michelle LaRue นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยมิเนสโซตา ในขณะที่อิโมจิเพนกวินจากกูเกิลดูเหมือนว่าจะเป็นเพนกวินจักรพรรดิ

ในขณะที่นกอื่นๆ นั้น ถูกออกแบบมาอย่างดี Jason Ward ผู้เชี่ยวชาญจาก National Audubon Society ชี้ว่าอิโมจินกถูกออกแบบหลากหลายสายพันธุ์และถูกต้องตามหลักความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นนกอินทรี หรือเป็ด อย่างไรก็ตามอิโมจิจากซัมซุงกลับออกแบบเป็ดให้มีสีเหลือง ในขณะที่นกฮูกมีสีม่วง “บนโลกเราไม่มีนกฮูกสีม่วง แม้แต่ใน Pinterest ก็ตาม”

มาดูที่แมลงกันบ้าง อิโมจิมีมากมายตั้งแต่หนอนไปจนถึงตะขาบ Morgan Jackson นักกีฏวิทยาจากมหาวิทยาลัย  Guelph Insect Collection ชี้ว่าหนอนผีเสื้อไม่ได้มีเสาอากาศแบบนั้นเว้นแต่ว่ามันจะเป็นหนอนที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นดักแด้ ซึ่งจะมีส่วนที่เรียกว่า “Osmeterium” ซึ่งจะยื่นออกมาจากหัวและปล่อยกลิ่นออกมา

ทั้งนี้ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมาจากความพยายามออกแบบให้สัตว์เหล่านี้ออกมาดูน่ารัก โดยใช้ลักษณะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่งเติมเข้าไปไม่ว่ามันจะเป็นนกหรือแมลงก็ตาม เช่น ดวงตาโตใสของมด เป็นต้น

เรื่อง เจสัน บิทเทล

ค้นหาอิโมจิผ่านสารานุกรมอิโมจิได้ ที่นี่

 

อ่านเพิ่มเติม

พบกับชายผู้ใช้ชีวิตกับไฮยีน่า

Recommend